หน้าเว็บ

Heat transfer system


สกรีนเสื้อด้วยวิธีทรานเฟอร์ความร้อน Heat Transfer system )

การพิมพ์แบบอ้อม (Indirect Print) หรือ แบบถ่ายโอนความร้อน (Heat Transfer) เป็นเทคนิคการพิมพ์ลายลงบนกระดาษ แล้วนำไปผ่านกระบวนการกดหรือรีดด้วยความร้อน เทคนิคนี้ได้ถูกต่อยอดมาจากการสกรีนเสื้อเบอร์หมายเลขของนักกีฬา โดยการสกรีนลงบนกระดาษทรานเฟอร์เตรียมไว้ก่อนเมื่อมีออเดอร์มาก็สามารถจะนำเข้าเครื่องรีดความร้อนกดทับสกรีนติดเสื้อได้ทันที จนเข้าสู่ยุคดิจิตอล เทคโนโลยีการพิมพ์ได้พัฒนาไปพร้อม ๆ กับการออกแบบกลไกหัวฉีดหมึกและคุณสมบัติ ของหมึกที่นำมาใช้พิมพ์ในงานอุตสหกรรมสิ่งพิมพ์ จึงได้เริ่มมีการประยุกต์เอาหลักการสกรีนเสื้อแบบ ทรานเฟอร์ดั้งเดิมมาใช้
      โดยการพิมพ์ลวดลายด้วยเครื่องปริ้นเตอร์แบบ Ink Jet หรือ Laser ลงบนกระดาษทรานเฟอร์
แล้วนำไปกดด้วยเครื่องรีดความร้อน เพื่อให้หมึกระเหิดย้อมติดไปบนเสื้อโดยมีแผ่นฟิลม์บนกระดาษเป็นตัวเคลือบยึดเกาะลวดลายกับตัวเสื้ออีกชั้นนึงหมึกสำหรับ การสกรีนแบบทรานเฟอร์ ต้องมีคุณสมบัติในการยึดเกาะบนเส้นใยผ้าได้ดี คงทนต่อแดด (การตาก และใส่กลางแจ้ง) และที่สำคัญต้องทนน้ำ(ทนต่อการซักล้าง) โดยหมึกที่นิยมนำมาใช้ในการสกรีนเสื้อแบบทรานเฟอร์ เช่น หมึก dye sublimation ink ซึ่งมีคุณสมบัติในการระเหิด เมื่อถูกความร้อนหมึกจะเหิด กลายเป็นไอย้อมติดลงไปบนเนื้อผ้า





กระดาษทรานเฟอร์

เป็นกระดาษที่ผลิตขึ้นมาโดยเฉพาะสำหรับงานสกรีนเสื้อด้วยความร้อน โดยตัวกระดาษจะมีแผ่นฟิลม์บาง ๆ เคลือบอยู่เมื่อนำไปกดทับด้วยเครื่องรีดความร้อน ตัวฟิลม์จะละลายเคลือบติดไปบนลวดลาย และตัวเสื้อ ถ้าสกรีนลงบนเสื้อสีขาวตัวฟิลม์ที่เคลือบก็จะกลมกลืน ไปกับสีเสื้อ(ถ้าสังเกตุจะมองเห็นเป็นกรอบสี่เหลี่ยมของเนื้อฟิลม์) แต่ถ้าสกรีนเสื้อดำจะเห็นเป็นกรอบฟิลม์สี่เหลี่ยมอย่างชัดเจน เนื่องจากข้อจำกัดดังกล่าวจึงทำให้งานสกรีนด้วยวิธีรีดร้อนนี้ถูกนำไปใช้ในวงจำกัดเฉพาะกับการสกรีนเบอร์หรือตัวอักษร หรือสกรีนเสื้อ รูปถ่ายที่ระลึก เนื่องจากจำเป็นต้องมีการทำ die cut      เพื่อตัดพื้นที่ส่วนที่ไม่ใช่ลวดลายออก (ยกเว้น design ที่มีกรอบสี่เหลี่ยมเช่นรูปถ่ายภาพเหมือน) และผิวสัมผัสบนลวดลายที่สกรีนลงบนเสื้อจะแตกต่างจากการสกรีนแบบซิลค์สกรีนซึ่งเรียบเป็นเนื้อเดียวกับเสื้อ(ยกเว้นประเภทที่ต้องการสกรีนลายนูน) แต่กับการสกรีนความร้อนด้วยวิธีทรานเฟอร์แผ่น
ฟิลม์ที่เคลือบจะให้ความรู้สึกของผิวสัมผัสเหมือนการนำแผ่นสติกเกอร์มาติดลงบนเสื้อ ในกรณี
ที่ลวดลายซับซ้อนทำให้ลำบากในการทำ die cut จะใช้วิธีเลี่ยงด้วยการออกแบบลายสกรีนให้มีสีพื้น
มารองรับเป็นแบ็ลคกราวน์ เพื่อให้ง่ายต่อการตัดหรือทำ die cut


ความคงทน
การสกรีนเสื้อด้วยวิธีทรานเฟอร์ คุณสมบัติในด้านความคงทนของลวดลายที่สกรีนทั้งต่อการตากแดดและโดยเฉพาะอย่างยิ่งการซักล้างด้วยน้ำจะขึ้นอยู่คุณภาพของหมึกและกระดาษซึ่งมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการตัดสินใจเลือก Printer เพราะถ้าใช้หมึกที่ไม่ผ่านการทดสอบคุณสมบัติในการทนน้ำเมื่อนำไปซัก รวมถึงกระดาษทรานเฟอร์ที่มีคุณสมบัติในการยึดเกาะ (ฟิลม์ที่เคลือบ)ไม่ดี เมื่อนำไป
ซักลวดลายจะหลุดลอกได้ง่าย


ส่วนข้อจำกัดของหมึกประเภทนี้คือ

ใช้ได้เฉพาะกับผ้าที่มีส่วนผสมใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์ หรือไนล่อนเท่านั้น ไม่สามารถใช้ได้กับผ้าที่เป็น cotton 100%
 
         หมึกพิกเม้นต์ หรือ ที่เรียก ดูราไบท์ ( Durabite เป็นชือทางการค้าของ printer เจ้านึง) จะมีคุณสมบัติเด่นในด้านความคงทน และกันน้ำ เนื่องจากหยดหมึกจะมีเรซิ่นบาง ๆ เคลือบอยู่ หมึกประเภทนี้สามารถใช้สกรีนลงบนเนื้อผ้า cotton 100% ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น